ปัญหาของฟันน้ำนมในเด็ก ส่งผลต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคต

ปัญหาของฟันน้ำนมในเด็ก ส่งผลต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคต

ปัญหาของฟันน้ำนมในเด็ก ปล่อยไว้อาจส่งผลเสียต่อเด็ก!

นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองกังวลกับสุขภาพช่องปากและ ปัญหาของฟันน้ำนมในเด็ก เพราะสุขภาพฟันนั้นก็สำคัญไม่แพ้กับสุขภาพอื่นๆ ภายในร่างกาย จึงควรทำความสะอาดและดูแลการเติบโตอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สุขภาพช่องปากดีตั้งแต่ฟันน้ำนมไปจนถึงฟันแท้

สารบัญ

• ฟันน้ำนม คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
• ปัญหาของฟันน้ำนมในเด็ก มีอะไรบ้าง
• ปัญหาของฟันน้ำนมในเด็ก ส่งผลกระทบกับอะไรบ้าง
• วิธีดูแลรักษาสุขภาพฟันน้ำนมให้แข็งแรง

ฟันน้ำนม คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

ฟันน้ำนม เป็นฟันชุดแรกของมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่เกิดจำนวน 20 ซี่ เพียงแต่ซ่อนอยู่ภายใต้เหงือกและเมื่อเจริญเติบโตขึ้นจนถึงวัยที่เหมาะสม ซึ่งฟันน้ำนมซี่แรกจะเริ่มงอกออกมาเมื่ออยู่ในช่วงอายุ 6 เดือน – 1 ปี จะงอกขึ้นมาครบ 20 ซี่เมื่ออายุประมาณ 3 ขวบ และจะถึงช่วงเปลี่ยนผลัดเป็นฟันแท้เมื่อเด็กอายุครบ 5 – 6 ขวบ

ถึงแม้ฟันน้ำนมจะอยู่กับลูกน้อยได้แค่อย่างมาก 6 ปี แต่ก็ต้องดูแลรักษาฟันน้ำนมนี้ให้ดี เพราะถ้าฟันน้ำนมมีสุขภาพดีจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของฟันแท้ในอนาคต ทำให้สุขภาพฟันแท้ที่จะเกิดขึ้นมานั้นสุขภาพดีตามมาด้วย และลดการเกิด ปัญหาของฟันน้ำนมในเด็ก ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ปัญหาของฟันน้ำนมในเด็ก มีอะไรบ้าง

ถ้าพูดถึงปัญหาของฟันน้ำนมในเด็กแล้ว คงจะนึกถึงแต่ปัญหาฟันผุ ที่เป็นปัญหายอดฮิตในวัยเด็กกัน แต่ที่จริงแล้วปัญหาเกี่ยวกับฟันเด็กมีมากกว่านั้น ทั้งปัญหาฟันซ้อน ฟันเก ฟันห่าง และปัญหาอื่นๆ

ฟันผุ

ปัญหาฟันผุ เป็นเกิดจากแบคทีเรีย Streptococcus mutans ที่มีสาเหตุมาจากที่ฟันสัมผัสกับน้ำตาล เชื้อแบคทีเรียนี้จะย่อยสลายอาหารประเภทน้ำตาล เกิดเป็นกรดแลคติกซึ่งมีฤทธิ์ ในการสลายแร่ธาตุ แคลเซียม และ ฟอสฟอรัส ทำให้เกิดฟันผุ หากฟันน้ำนมได้รับความเสียหายอาจทำให้ฟันแท้ขึ้นไม่ถูกตำแหน่ง อย่างร้ายแรงอาจกลายเป็นหนอง เสี่ยงติดเชื้อจนทำให้เกิดการสูญเสียเนื้อฟันอย่างรุนแรง

ฟันหลอ

ปัญหาฟันหลอ ก็ได้รับผลกระทบมาจากปัญหาฟันผุ เรียกได้ว่าเป็นปัญหาเดียวกันก็ได้ เพียงแต่ฟันหลอจะเป็นการที่ฟันผุในลักษณะที่เกิดจากการที่ฟันหน้าบนผุอย่างรุนแรงจนเกิดเป็นรูแหว่งตรงกลาง เรียกว่า ‘ฟันหลอ’ แล้วจึงค่อยๆ ลุกลามไปผุยังบริเวณอื่น โดยปัญหาฟันหลอนี้ส่วนมากมักเกิดจาก

ฟันหลอ โดยเฉพาะที่เห็นได้ชัดเจนในฟันหน้าบนเป็นผลจากฟันผุที่ลุกลามอย่างรวดเร็วและรุนแรงด้วย โดยจะเป็นกับฟันเฉพาะซี่ สังเกตได้จากฟันหน้าบนเป็นรุนแรงมาก เชื้อโรคในปากก็จะใช้คราบนมนั้นเป็นอาหารในการเจริญเติบโตและปล่อยกรดออกมาทำลายฟันในที่สุด

ฟันบิ่น/ฟันแตก

ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ไม่เป็นปัญหากับสุขภาพช่องปาก แต่ถ้าหากปล่อยไว้อาจส่งผลกระทบต่อรากฟันได้ อีกทั้งตัวฟันอาจมีความคม ทำให้บาดลิ้น ผนังช่องปาก กระพุ้งแก้ม เกิดเป็นแผลในช่องปาก มีโอกาสเสี่ยงเป็นร้อนใน แสบร้อน และเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อได้

ฟันซ้อน/ฟันเก

ปัญหาฟันประเภทนี้เกิดจากฟันที่มีการงอกผิดปกติ โดยงอกแบบผิดตามธรรมชาติของแนวเหงือก หรือมีการขึ้นของฟันที่บิดเบี้ยว โดยสามารถขึ้นซ้อนได้ทั้งด้านในและด้านนอกของแนวฟัน ซึ่งสาเหตุการเกิดนั้นเกิดจากการที่เกิดแรงกดบริเวณเหงือกและฟันมากเกินไป เช่น การดูดนิ้วมือ การใช้ขวดนมมากเกินไป

ฟันสบลึก

ปัญหาฟันสบลึก เป็นการสบฟันที่ผิดปกติ โดยจะเป็นการที่ฟันหน้าบนคร่อมปิดฟันหน้าล่าง หรือฟันหน้าล่างคร่อมปิดฟันหน้าบนก็ได้ โดยปลายฟันจะโดนโคนฟัน อาจทำให้ฟันบาง เกิดความเสียหายกับเหงือกและรากฟันจนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ฟันสึกกร่อน เกิดแผลที่เพดานปก ส่งผลให้รับประทานอาหารลำบาก

สุขภาพเหงือก

สุขภาพของเหงือกนั้นสะท้อนถึงสุขภาพของฟันเช่นกัน หากดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่เพียงพอ ปล่อยให้มีเชื้อโรคและหินปูนภายในช่องปาก หรือพฤติกรรมการรุนแรงต่อฟัน เช่น การใช้ไหมขัดฟัน, การแปรงฟันที่รุนแรง, แปรงสีฟันไม่เหมาะสมกับวัย ก็ส่งผลต่อสุขภาพช่องปากและฟันเช่นเดียวกัน

ตรวจเช็คสุขภาพของฟันเด็กได้ที่นี่ทำฟันเด็ก

ปัญหาของฟันน้ำนมในเด็ก ส่งผลกระทบกับอะไรบ้าง

โครงสร้างของฟัน

การที่เด็กๆ มีสุขภาพฟันน้ำนมที่แข็งแรง เรียงตัวสวย นอกจากจะดีต่อร่างกายแล้วยังดีต่อโครงสร้างของฟันแท้ที่จะงอกต่อขึ้นมาจากฟันน้ำนมจะเรียงตัวสวย สุขภาพแข็งแรง ตรงกันข้ามหากฟันน้ำนมไม่ได้รับการดูแลที่มากพอ ปล่อยให้ฟันน้ำนมผุ ฟันแท้ที่จะงอกขึ้นมาก็จะผุตามด้วย หรืออ่อนแอจนร่วงหลุดไปก่อนเวลาสมควร ก็จะงอกขึ้นมาผิดตำแหน่ง ทำให้รูปฟันไม่สวยตามธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น ล้มเอียงไปตามช่องว่างที่มีอยู่และซ้อนเก ทำให้เด็กออกเสียงได้ไม่ชัดเจน ส่งผลต่อบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต พวกเขาอาจขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และไม่มีความกล้าแสดงออกอีกด้วย

การรับประทานอาหาร

เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับสุขภาพช่องปาก ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารแน่นอนอยู่แล้ว ถ้าหากลูกน้อยเกิดความเจ็บปวดขณะเคี้ยวอาหาร ก็อาจทำให้ได้รับโภชนาการที่ไม่เพียงพอต่อร่างกายที่ควรได้รับ

การสื่อสาร

นับเป็นเรื่องที่ปล่อยวางไม่ได้ถ้าหากลูกน้อยเกิดปัญหาด้านการสื่อสาร อาจปวดฟันจนรู้สึกพูดไปปวดไป ทำให้พูดน้อย หรือฟันที่หลุดร่วงไปอาจส่งผลให้การออกเสียงไม่ชัด ลูกน้อยอาจมีปัญหาในการพูดคุยหรือการเข้าสังคม

การพักผ่อน

อาการปวดฟันที่เกิดจากปัญหาสุขภาพฟันส่งผลต่อการพักผ่อนและการนอนหลับเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงอายุ 6 ปีแรกของเด็ก เป็นช่วงที่ร่างกายของเด็กจะเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรงที่สุด การนอนหลับส่งผลต่อพัฒนาการของสมองอย่างมาก หากเด็กวัยนี้ปวดฟันจนนอนต่อไม่ได้อาจไปขัดขวางการเจริญเติบโตของเด็ก

วิธีดูแลรักษาสุขภาพฟันน้ำนมให้แข็งแรง

• หมั่นให้เด็กแปรงฟันทุกวันสม่ำเสมอ อย่างน้อย 2 ครั้ง / วัน
• รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ มีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพฟัน
• จำกัดปริมาณการให้เด็กรับประทานขนมหวาน หรืออาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
• ใช้ผลิตภัณฑ์ในการแปรงฟันที่เหมาะสม และบำรุงสุขภาพของฟันให้แข็งแรง
• ผู้ปกครองควรพาเด็กตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์อยู่สม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 6 เดือน

สรุป

ปัญหาของฟันน้ำนมในเด็ก ถือเป็นอีกปัญหาที่น่ากังวลใจ เพราะฟันน้ำนมที่ไม่ได้รับการดูแลที่มากพออาจส่งผลต่อสุขภาพของฟันในอนาคต ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรใส่ใจสุขภาพฟันของเด็กให้ดี หมั่นให้ดูแลรักษาความสะอาดและรับประทานอาหารที่ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคของฟัน จะทำให้ลูกน้อยของเรามีรอยยิ้มที่สดใสสุขภาพดี

อ้างอิง

(1) อ้างอิงจาก ความรู้พื้นฐานและโรคที่พบบ่อยทางทันตกรรมสําหรับนักศึกษาแพทย์ ปี 4 (2) อ้างอิงจาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

CallAction