รากเทียม ฟันปลอมทดแทนฟันแท้ ดูเป็นธรรมชาติและปลอดภัยต่อร่างกาย

รากเทียม ฟันปลอมทดแทนฟันแท้ ดูเป็นธรรมชาติและปลอดภัยต่อร่างกาย

ฟัน ถือว่าเป็นอวัยวะที่แข็งแรงที่สุดของร่างกาย แต่เมื่อเวลาผ่านไป สุขภาพของฟันก็ต้องมีถดถอยไปตามกาลเวลา ร่วมกับปัจจัยในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นอายุ โรคภายในช่องปาก เช่น โรคเหงือก อาการฟันผุหรือพฤติกรรมในการใช้ฟัน ก็ล้วนส่งผลต่อสภาพของฟัน ในบางครั้งอาจมีการกระทบกระเทือนกับฟันจนถึงขั้นทำให้ฟันหลุดออกมา แต่เทคโนโลยีทางด้านทันตกรรมก็ได้มีการพัฒนามากขึ้น มีการคิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยมาทดแทนฟันแท้ที่เสียไป นั่นก็คือ รากเทียม

สารบัญ

  • รากเทียม คืออะไร
  • รากเทียม ทำมาจากวัสดุชนิดใด
  • รูปแบบของการทำรากเทียม
  • ประเภทของการฝังรากฟันเทียม
  • ข้อดีของรากเทียม
  • ข้อเสียของรากเทียม
  • การปฏิบัติตัวหลังการฝังรากเทียม

รากเทียม คืออะไร

รากเทียม หรือ รากฟันเทียม (Dental Implant) คือ วัสดุอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทดแทนฟันแท้ที่เสียไป มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับสกรูที่ทำหน้าที่เป็นรากฟัน มีน้ำหนักเบาแต่ความคงทนสูง ทนต่อการกัดกร่อน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน หากปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์และดูแลทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ (1) เมื่อทันตแพทย์ทำการฝังรากเทียมลงภายใต้เหงือกในบริเวณที่เหมาะสมแล้ว ก็จะนำฟันปลอมใหม่มายึดติดกับ รากเทียม ให้ประสานกันสนิท โดยมั่นใจได้ว่าฟันปลอมจะสามารถทำงานร่วมกับรากเทียมโดยไม่มีการเลื่อนหรือหลุดออกมาจากบริเวณที่ฝัง ซึ่งจะให้ความรู้สึกเหมือนได้ใช้งานฟันแท้ มีความเป็นธรรมชาติมากกว่าการทันตกรรมแบบอื่นๆ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรากเทียม

รากเทียมทำมาจากวัสดุชนิดใด

รากเทียม ที่มีรูปร่างคล้ายสกรูนั้น ผลิตมาจากไทเทเนียม (Thaitanium) หรือ เซอร์โคเนียม ซึ่งมีคุณสมบัติขึ้นชื่อในเรื่องของความทนทาน ถูกนำมาเป็นวัสดุที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อะไหล่ ชิ้นส่วนต่างๆ อีกทั้งยังน้ำหนักเบา สามารถฝังแน่นติดอยู่ภายในเร่างกายได้โดยไม่มีอันตราย แถมยังเข้ากันได้ดีกับร่างกายด้วย โดยส่วนประกอบของรากฟันเทียม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน (2)

• รากฟันเทียม (Fixture) : ส่วนสกรูหรือน็อตที่ฝังลงไปในกระดูกขากรรไกร ทำหน้าที่เป็นรากฟัน
• แกนฟัน (Abutment) : ส่วนที่ยึดติดกับ รากเทียม และครอบฟันบนรากฟันเทียม
• ครอบฟัน (Prosthetic) : ส่วนของตัวฟันที่จะอยู่บริเวณนอกเหงือก มีรูปร่างลักษณะและสีคล้ายกับสีฟันธรรมชาติ ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร

รูปแบบของการทำรากเทียม

การทันตกรรมรากฟันเทียมแบบผ่าตัดฝังรากเทียม การผ่าตัดฝัง รากเทียม ทันตแพทย์จะทำการเปิดเหงือกเพื่อเปิดกระดูกและเจาะรูสำหรับฝังรากเทียม เมื่อรากฟันเทียมสมานกัน กระดูกขากรรไกรจะรวมตัวยึดติดกับรากฟันเทียม เพื่อสร้างฐานรองรับฟันปลอม โดยกระบวนการทั้งหมดนี้จะใช้เวลา 2 – 3 เดือน เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระดูกขากรรไกรแข็งแรง สำหรับการฝังรากฟันเทียมเพื่อให้หลอมรวมกับฟันปลอมได้

การทันตกรรมรากฟันเทียมแบบหลอมเนื้อโลหะ วิธีหลอมเนื้อโลหะ เป็นการทำให้ตัว รากเทียม นั้นเป็นหลอมกันเป็นโครงสร้างเดียวกับเหงือก แล้วจึงนำมาติดบนขากรรไกรใต้เนื้อเยื่อของเหงือก โดยโครงสร้างนั้นก็จะติดอยู่กับขากรรไกรแล้วจึงสามารถปลูกถ่ายฟันปลอมหรือฟันปลอมมาติดได้

ประเภทของการฝังรากฟันเทียม

เป็นการวางแผนการรักษาฝังรากเทียมแบบทั่วไป ไม่มีขั้นตอนหวือหวา โดยเริ่มต้นทันตแพทย์จะตรวจสุขภาพช่องปาก พิมพ์ปาก และเอ็กซ์เรย์ร่วมกับการทำ CT Scan ในบางจุด จากนั้นจะมีนัดหมายเพื่อเรียกมารักษาตามขั้นตอน โดยเริ่มจากการผ่าตัดเล็กเพื่อฝัง รากเทียม ลงไปในกระดูกขากรรไกร แล้วรอให้ทั้งสองยึดติดกันแล้วจึงไปสู่ขั้นตอนการใส่ฟันเทียม ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่กินเวลายาวนานหลายสัปดาห์ และจะต้องเข้ารับการตรวจสภาพฟันอยู่สม่ำเสมอ

การฝังรากฟันเทียมทันที (Immediate Implant)

เป็นการฝัง รากเทียม ลงไปทันทีหลังจากถอนฟันธรรมชาติออก และสามารถทำการฝังรากฟันให้แล้วเสร็จได้ทันที ข้อดีของการฝังรากฟันเทียมประเภทนี้ จะช่วยลดขั้นตอนและกระบวนการการฝังรากเทียมได้ ลดโอกาสการเกิดปัญหาภายในช่องปากได้ ไม่ว่าจะเป็นการละลายของกระดูก หรือ อาการเหงือกร่นเองก็ตาม แต่คนไข้ที่จะสามารถใช้วิธีนี้ได้จะต้องมีตำแหน่งฟันที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับกรวินิจฉัยและวิจารณญาณของทันตแพทย์ด้วย

การฝังรากเทียมพร้อมการครอบฟัน (Immediate Loaded Implants)

การฝังรากเทียมประเภทนี้มีเป็นการครอบฟันทันทีหลังจากผ่านการครอบฟันหรือสะพานฟัน ด้วยวิธีการข้างต้น ไม่ต้องรอให้กระดูกยึดตัวกับรากฟันเทียม โดยแพทย์จะประเมินสภาพของกระดูก ฟัน และบริเวณช่องปาก เพื่อประเมินปริมาณของกระดูกอย่างละเอียดและวินิจฉัยว่าเหมาะสมหรือไม่

ข้อดีของ รากเทียม

• ช่วยลดการละลายของกระดูกสันเหงือก
• ลดการสูญเสียเนื้อฟันบริเวณข้างเคียง
• ช่องปากสุขภาพดีมากขึ้น ทำความสะอาดช่องปากได้ง่ายมากขึ้น
• สามารถพูดและบดเคี้ยวอาหารได้สะดวกขึ้น
• มีอายุการใช้งานยาวนานมาก เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยตัวเลือกอื่น
• ส่งเสริมบุคลิกภาพในการพูดและการยิ้ม เพิ่มความมั่นใจให้กับตนเอง
• ได้ความเป็นธรรมชาติให้กับรูปฟัน สวยงาม

ข้อเสียของ รากเทียม

• ราคาสูง หากมีปัญหาทั่วช่องปากอาจทำให้ค่าใช้จ่ายสูงมาก
• มีขั้นตอนในการรักษาเยอะ พักฟื้นนาน เห็นผลช้า
• มีข้อจำกัดในการรักษาเยอะ ผู้ป่วยบางโรคไม่สามารถทำได้ และยังแก้ไขได้ยากหากเกิดปัญหา
• มีการผ่าตัดในกระบวนการรักษา ต้องรับมือกับความเสี่ยง
• ต้องดูแลรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัด เพราะ รากเทียม เปรียบเสมือนฟันใหม่ที่ต้องคอยดูแลอย่างดี

การปฏิบัติตัวหลังการฝัง รากเทียม

• กัดผ้าก็อตเพื่อห้ามเลือดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 – 1.30 ชั่วโมง หรือจนกว่าเลือดจะหยุดไหล
• ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมบริเวณแก้ม เป็นเวลา 3 วัน หรือจนกว่าจะหยุดบวมตามความเหมาะสม
• รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ไม่ต้องออกแรงเคี้ยว เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม หลีกเลี่ยงการเคี้ยว การอม หรือการกัดสิ่งของใดที่จะมีผลกระทบต่อฟัน
• นอนหมอนสูงเพื่อลดอาการบวม เป็นเวลา 2 – 3 วัน
• สามารถแปรงฟันหรือขัดฟันได้ เพียงแต่ต้องระมัดระวังบริเวณที่มีแผลผ่าตัด
• สามารถบ้วนปากได้ แต่ควรเป็นน้ำยาบ้วนปากที่แพทย์ให้มาและไม่กลั้วแรงจนกระทบแผลผ่าตัด
• งดการสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอลล์ หรืออาหารที่เป็นโทษต่อสุขภาพช่องปาก เพราะอาจมีผลกระทบต่อ รากเทียม
• เข้าพบแพทย์ตามนัดและเข้าคลินิกทันตกรรมเพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างน้อยทุก 6 เดือน
• ปฏิบัติตามคำแนะนำอื่นๆ ของแพทย์อย่างเคร่งครัด

สรุป

รากเทียม ทางเลือกสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไปและไม่สามารถคืนกลับมาได้อีก เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ช่วยทำให้คุณรู้สึกได้ว่าเหมือนได้ฟันแท้ของตัวเองกลับมา อีกทั้งยังมีความแข็งแรงคงทน สามารถอยู่ภายในช่องปากโดยไม่เป็นอันตราย และอยู่ได้ยาวนานตลอดชีวิต อีกทั้งยังคงความเป็นธรรมชาติ ได้รูปสวย คืนความมั่นใจให้กลับมาอีกครั้ง

อ้างอิง

(1) อ้างอิงจาก รากฟันเทียมสำหรับผู้สูงอายุ (2) อ้างอิงจาก ไทเทเนียมและโลหะผสมไทเทเนียมในทางทันตกรรมรากเทียม

CallAction